วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ.2559 (ชดเชย)


Diary Note 13

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล 

(Individualized Education Program)


แผน IEP
แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
       เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขาด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก


IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ


ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1.การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง


2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง



3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

กิจกรรมในวันนี้

อาจารย์แจกกระดาษ A4 พร้อมกับสีเทียน แล้วจากนั้นให้วาดเป็นรูปวงกลมหลายๆ ชั้น 



***การเลือกใช้สี บ่งบอกถึงตัวตนเรา






(แล้วนำมาติดรวมกันเป็นต้นไม้)

Apply:
- เด็กทีมีความบกพร่องแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดการเรียนรู้ควรคำนึงถึงพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นำกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ไปใช้กับเพื่อนๆ หรือเด็กๆ ที่เราจะสอนในอนาคตได้

Assessment :
Place = สะอาดเรียบร้อยดี อุปกรณืในการสอนครบ
My self = มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
Classmate = ตั้งใจเรียน
Instructor = สอนได้เข้าใจ อธิบายได้ชัดเจน

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ.2559

Diary Note 13

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม
        เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-เกิดผลดีในระยะยาว
-เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
-โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
-การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
-การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

 3. การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน 
(Augmentative and AlternativeCommunication ; AAC)
-การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
-เครื่องโอภา (Communication Devices)
-โปรแกรมปราศรัย






การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1. ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข


2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม


3. ทักษะการช่วยเหลือตนเองเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด

-การกินอยู่ 

-การเข้าห้องน้ำ 

-การแต่งตัว 

-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน



4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียนการช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นจัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-อยากสำรวจ อยากทดลองการวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ


ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น?
-อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

Apply: เด็กพิเศษต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าเด็กปกติ ต้องรู้วิธีที่สอดคล้องและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กพิเศษแต่ละประเภท

Assessment :
Place = เรียบร้อย แอร์เย็นดี
My self = แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา
Classmate = ตั้งใจเรียน

Instructor = สอนไม่เครียด มีเกมส์เล่นคั่นเวลาเพิ่มความสนุกสนานในการเรียน

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2559

Diary Note 12

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

                  เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม 
(integrated Education หรือ Mainstreaming )

- การจัดการให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด้กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
- การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)

ภาพกิจกรรมวาดดอกบัว








Apply: สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช้สิ่งที่เป็นต้องมองให้ลึกและละเอียด

Assessment :
Place =  สะอาดเรียบร้อยดี
My self = ตั้งใจเรียน
Classmate = ให้ความร่วมมือดีมาก ตั้งใจเรียน

Instructor = สอนเข้าใจง่าย พูดจาไพเราะน่าฟัง

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559

Diary Note 11

ค้นหาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเด็ก



วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2559

Diary Note 10
*** สอบกลางภาค ***

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2559



Diary Note 9

knowledge :

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
 (Children with Behavioral and Emotional Disorders)


- มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ 
- แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น 
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้
- เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ 
- ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

- ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
- ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
- ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
- ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
- กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
- เอะอะและหยาบคาย
- หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติด
- หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ

ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 
- จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
- ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
- งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด


สมาธิสั้น (Attention Deficit)

- มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
- พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
- มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
- หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
- เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
- ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) 
- การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) 
- การปฏิเสธที่จะรับประทาน 
- รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
         - ขาดเหตุผลในการคิด
         - อาการหลงผิด (Delusion)
         - อาการประสาทหลอน (Hallucination)
         - พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

        สาเหตุ
      - ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
      - ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)

      ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
       - ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
        -  รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
        -  มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน 
        - มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์ 
        - แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
        - มีความหวาดกลัว
        
         เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม
 ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
     
      เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
      เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum) 
        

เด็กสมาธิสั้น
  (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)




ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 
3 ประการ คือ 
Inattentiveness
Hyperactivity
Impulsiveness

Inattentiveness (สมาธิสั้น) 
ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ 
- ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ 
- มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
- เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ 
- เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
- ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
- เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
- เหลียวซ้ายแลขวา 
- ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ 
- อยู่ไม่สุข ปีนป่าย 
- นั่งไม่ติดที่ 
- ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
       - ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
       - ขาดความยับยั้งชั่งใจ 
       - ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 
       - ไม่อยู่ในกติกา 
       - ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง 
      - พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง 
      - ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
        
        สาเหตุ
           
        - ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง 
เ      - ช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) 
       - ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
       - พันธุกรรม
       - สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ


****ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น***

         สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
ดูดนิ้ว กัดเล็บ
หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
เรียกร้องความสนใจ
อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
ฝันกลางวัน
พูดเพ้อเจ้อ
 
9. เด็กพิการซ้อน
  (Children with Multiple Handicaps) 


        - เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
        - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
        - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
        - เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด






Apply: ดูแลเอาใจใส่ให้ตรงกับความต้องการและพัฒนาการของแต่ละประเภทแตกต่างกันไป

Assessment :
Place =  สะอาดเรียบร้อยดี
My self = ตั้งใจเรียน
Classmate = ให้ความร่วมมือดีมาก ตั้งใจเรียน
Instructor = สอนเข้าใจง่าย พูดจาไพเราะน่าฟัง

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2559

Diary Note 8
*** งดการเรียนการสอน ***