วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2559

Diary Note 10
*** สอบกลางภาค ***

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2559



Diary Note 9

knowledge :

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
 (Children with Behavioral and Emotional Disorders)


- มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ 
- แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น 
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้
- เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ 
- ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

- ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
- ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 
- ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
- ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
- กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
- เอะอะและหยาบคาย
- หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติด
- หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ

ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 
- จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
- ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
- งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด


สมาธิสั้น (Attention Deficit)

- มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
- พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
- มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
- หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
- เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
- ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) 
- การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) 
- การปฏิเสธที่จะรับประทาน 
- รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
         - ขาดเหตุผลในการคิด
         - อาการหลงผิด (Delusion)
         - อาการประสาทหลอน (Hallucination)
         - พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

        สาเหตุ
      - ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
      - ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)

      ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
       - ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
        -  รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
        -  มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน 
        - มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์ 
        - แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
        - มีความหวาดกลัว
        
         เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม
 ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
     
      เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
      เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum) 
        

เด็กสมาธิสั้น
  (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)




ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 
3 ประการ คือ 
Inattentiveness
Hyperactivity
Impulsiveness

Inattentiveness (สมาธิสั้น) 
ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ 
- ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ 
- มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย 
- เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ 
- เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
- ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
- เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
- เหลียวซ้ายแลขวา 
- ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ 
- อยู่ไม่สุข ปีนป่าย 
- นั่งไม่ติดที่ 
- ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
       - ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
       - ขาดความยับยั้งชั่งใจ 
       - ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ 
       - ไม่อยู่ในกติกา 
       - ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง 
      - พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง 
      - ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
        
        สาเหตุ
           
        - ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง 
เ      - ช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) 
       - ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
       - พันธุกรรม
       - สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ


****ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น***

         สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
ดูดนิ้ว กัดเล็บ
หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
เรียกร้องความสนใจ
อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
ฝันกลางวัน
พูดเพ้อเจ้อ
 
9. เด็กพิการซ้อน
  (Children with Multiple Handicaps) 


        - เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
        - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
        - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
        - เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด






Apply: ดูแลเอาใจใส่ให้ตรงกับความต้องการและพัฒนาการของแต่ละประเภทแตกต่างกันไป

Assessment :
Place =  สะอาดเรียบร้อยดี
My self = ตั้งใจเรียน
Classmate = ให้ความร่วมมือดีมาก ตั้งใจเรียน
Instructor = สอนเข้าใจง่าย พูดจาไพเราะน่าฟัง

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2559

Diary Note 8
*** งดการเรียนการสอน ***

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559

Diary Note 7
*** งดการเรียนการสอน
เนื่องจากมีการสอบกลางภาค ***

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

Diary Note 6

*** งดการเรียนการสอน ***

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

Diary Note 5

knowledge :
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 
(Children with Learning Disabilities)


- เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) 
- เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง 
- ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย 

สาเหตุของ LD
- ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
- กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำอ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลยไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
- อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
- เดาคำเวลาอ่าน
- อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
- อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
- ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
- ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
- เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

2. ด้านการเขียน  (Writing Disorder) 
- เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
- เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
- เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
- ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
- เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
- เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน   เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
- เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
- เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
- เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
- จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
- สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
- เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
- เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
- ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

3. ด้านการคิดคำนวณ  (Mathematic Disorder)
- ตัวเลขผิดลำดับ
- ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
- ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
- แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
- ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
- นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
- คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
- จำสูตรคูณไม่ได้
- เขียนเลขกลับกันเช่น 13 เป็น 31
- ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
- ตีโจทย์เลขไม่ออก
- คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
- ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
- แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
- มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
- เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
- งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
- การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
- สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
- เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
- ทำงานช้า
- การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
- ฟังคำสั่งสับสน
- คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
- ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
- ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
- ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
- ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน


7. ออทิสติก (Autistic)



- หรือ ออทิซึ่ม (Autism) 
- เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
- ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น 
- ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม 
- เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
- ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต


"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 

- ทักษะภาษา
- ทักษะทางสังคม
- ทักษะการเคลื่อนไหว 
- ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่ 

ลักษณะของเด็กออทิสติก
- อยู่ในโลกของตนเอง
- ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
- ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
-  ไม่ยอมพูด
- เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ



เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การ
อนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา


ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
– ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
– ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
– ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
– ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
– มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
– ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
– พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
– ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
– มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
– มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
– มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
– สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

พฤติกรมการทำซ้ำ
• นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
• นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
• วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
• ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
– ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
– การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
– การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ

Autistic Savant
กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) 
     จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) 
    จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking) 



Apply: เด็กพิเศษต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าเด็กปกติ ต้องรู้วิธีที่สอดคล้องและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กพิเศษแต่ละประเภท

Assessment :
Place = เรียบร้อย แอร์เย็นดี
My self = แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา
Classmate = ตั้งใจเรียน
Instructor = สอนไม่เครียด มีเกมส์เล่นคั่นเวลาเพิ่มความสนุกสนานในการเรียน





บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

Diary Note  4

knowledge :

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 
 (Children with Speech and Language Disorders )


        เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
    - เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
    - ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด
    - เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
    - เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"

2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
     - พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
     - การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
     - อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
     - จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
     - เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย

3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
    - ความบกพร่องของระดับเสียง
    - เสียงดังหรือค่อยเกินไป
    - คุณภาพของเสียงไม่ดี

      ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้



1.การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย  (Delayed Language) 
- มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
- มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
- ไม่สามารถสร้างประโยคได้
- มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
- ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ


2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
- อ่านไม่ออก (alexia) 
- เขียนไม่ได้ (agraphia) 
- สะกดคำไม่ได้
- ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
- จำคำหรือประโยคไม่ได้
- ไม่เข้าใจคำสั่ง
- พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้




Gerstmann’s syndrome 


ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia) 
ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria) 
คำนวณไม่ได้ (acalculia) 
เขียนไม่ได้ (agraphia) 
อ่านไม่ออก (alexia) 


ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
- ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบา ๆ และอ่อนแรง 
- ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน 
- ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ 
- หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก 
- ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้ 
- หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา 
- มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก 
- ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย 


5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)



- เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน 
- อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป 
- เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
- มีปัญหาทางระบบประสาท
- มีความลำบากในการเคลื่อนไหว



โรคลมชัก (Epilepsy)



เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน

1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
- อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
- มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
- เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก 
- เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย

2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
   เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู

3.อาการชักแบบ Partial Complex
- มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
- เหม่อนิ่ง 
- เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูด
- หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก

4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
   เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก

5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
- เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น 
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
- จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
- ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
- หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
- ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจาปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
- จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
- ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
- ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ



ซี.พี. (Cerebral Palsy)

    
การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด 
     การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน 

1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
- spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
- spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
- spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
- spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)
- athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
- ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
- เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว 
- เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ 
- จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม 
โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
- ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
- กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ



โปลิโอ (Poliomyelitis)



- มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
- ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม 


โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus )
 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)
 โรคมะเร็ง (Cancer) 
 เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) 
แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว 
- ท่าเดินคล้ายกรรไกร
- เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
- ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ 
- มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง 
- หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว 
- หกล้มบ่อย ๆ
- หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ


Apply: เด็กทีมีความบกพร่องแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดการเรียนรู้ควรคำนึงถึงพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Assessment :
Place = สะอาดเรียบร้อยดี อุปกรณืในการสอนครบ
My self = มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
Classmate = ตั้งใจเรียน

Instructor = สอนได้เข้าใจ อธิบายได้ชัดเจน

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559

Diary Note 3

knowledge :

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”

เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)







- เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา 
- มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
- พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
- เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย 
- อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม 
- มีเหตุผลในการแก้ปัญหา  การใช้สามัญสำนึก
- จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
- มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
- มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
- เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต 
- มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน 
- ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน


เด็กฉลาด





- ตอบคำถาม
- สนใจเรื่องที่ครูสอน
- ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน 
- ความจำดี
- เรียนรู้ง่ายและเร็ว 
- เป็นผู้ฟังที่ดี 
- พอใจในผลงานของตน


Gifted 


- ตั้งคำถาม 
- เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
- ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
- อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
- เบื่อง่าย  
- ชอบเล่า 
- ติเตียนผลงานของตน 

2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง

1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา 
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน 
3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น 
4. เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา 
6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 
8. เด็กออทิสติก 
9. เด็กพิการซ้อน 


1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)


เด็กเรียนช้า 


- สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้ 
- เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
- ขาดทักษะในการเรียนรู้ 
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย 
- มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90 

สาเหตุของการเรียนช้า
ภายนอก
ภายใน

ภายนอก
1. เศรษฐกิจของครอบครัว
2. การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
3. สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
4. การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
5. วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ

ภายใน
พัฒนาการช้า
การเจ็บป่วย




เด็กปัญญาอ่อน



- ระดับสติปัญญาต่ำ 
- พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย 
- มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
- อาการแสดงก่อนอายุ 18 


พฤติกรรมการปรับตน
- การสื่อความหมาย
- การดูแลตนเอง 
- การดำรงชีวิตภายในบ้าน
- การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม 
- การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
- การควบคุมตนเอง
- การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
- การใช้เวลาว่าง
- การทำงาน
- การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น


เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
    - ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย 
    - ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
 
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 
    - ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
    - กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)

3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
    - พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ 
    - สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้ 
    - เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded) 

4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 
    - เรียนในระดับประถมศึกษาได้ 
    - สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้ 
    - เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded) 

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
 - ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  - ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
  - ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
  - ทำงานช้า
  - รุนแรง ไม่มีเหตุผล
  - อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  - ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน



ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome








สาเหตุ

- ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 
- ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)

อาการ
- ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น 
- หน้าแบน ดั้งจมูกแบน 
- ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก 
- ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
- เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต 
- ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ 
- มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น 
- เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ 
- ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง 
- มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย
- บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
- อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
- มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
- อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง

การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
- การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์ 
- อัลตราซาวด์  
- การตัดชิ้นเนื้อรก
- การเจาะน้ำคร่ำ  


2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired )
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก 



เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม

1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB 
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ

2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด 
- จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้ 
- มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ

3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB 
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด 
- เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน 
- มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน 
- มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ 
- พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด


4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB 
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก 
  - ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต 
  - การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
  - เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง 
  - เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด



เด็กหูหนวก 





- เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
- เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
- ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้ 
- ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย


3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)



- เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
- มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
- สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
- มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา 

จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท 
เด็กตาบอด 

- เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
- ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้ 
- มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท 
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
เด็กตาบอดไม่สนิท 
- เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา 
  - สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ 
  - เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น 
  - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต

Apply: ได้รู้สาเหตุของความบกพร่องของแต่ละประเภทมากยิ่งขึ้น เข้าใจมากขึ้นในการที่จะดูแลเอาใจใส่เด็กแต่ละประเภท

Assessment :
Place = เรียบร้อยดี
My self = ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
Classmate = ให้ความร่วมมือดีมาก

Instructor = อธิบายได้ชัดเจนละเอียด สอนสนุก